งานชิ้นที่ 1 ความหมายของวัฒนธรรม


          วัฒนธรรม
          พจนานุกรมฉลับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้นิยามความหมาย คำว่า วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ วิถีชีวิตของหมู่คณะ ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมพุทธศักราช 2485 วัฒนธรรมหมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน
ส่วนทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น จากการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช่อยู่ในหมู่พวกของตน
จากความหมายที่หลากหลายของวัฒนธรรม สรุปได้ว่า วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ดีงาม ทำให้เจริญก้าวหน้ามีระเบียบแบบแผน และสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามเงื่อนไขและกาลเวลา
    
          คำว่า วัฒนธรรม ถอดศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Culture เป็นคำที่พลตรี พระเจ้าวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรงบัญญัติไว้ โดยมาจากการรวมกันของสองคำ คือ วัฒน มาจาก วฑฺฒน ในภาษาบาลี หมายถึง ความเจริญงอกงาม และธรรม มาจาก ธฺรม ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สภาพที่เป็นอยู่จริง ดังนั้นวัฒนธรรมจึงหมายถึง สภาพที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม หรือความมีระเบียบวินัยที่มา: https://thaiculturebuu.wordpress.com/2010/07/04/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/

          วัฒนธรรม หมายถึง การดำเนินชีวิต ( The Way of Life ) ของคนในสังคมนับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธีแต่งการวิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีเจรจาและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ วิธีแสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต โดนแนวทางการแสดงถึงวิถีชีวิตนั้นอาจมาจากเอกชน หรือบุคคลทำเป็นต้นแบบ แล้วต่อมาตนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติสืบต่อกันมา วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ซึ่งอาจทำให้สมาชิกในสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกวัฒนธรรมเดิม
         
          วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่ถือปฏิบัติหรือปรับเปลี่ยนสืบทอดกันมา ตั้งแต่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานหรือส่วนที่เกี่ยวข้องได้ให้ความหมายไว้คล้ายคลึงกัน กลุ่มประชาสัมพันธ์สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้ให้ความหมายไว้ว่า วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม เช่น การกินอยู่ การแต่งกาย และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต ซึ่งคนส่วนใหญ่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา

          สรุป ความหมายของวัฒนธรรม คือ ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเริ่มตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา กฏหมาย ศิลปะ จริยธรรม จนไปถึงเทคโนโลยีต่างๆ นั่นหมายความว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

          ความหมายของนวัตกรรม

       นวัตกรรม คือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)
ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
                    1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
                    2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
                    3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

          นวัตกรรม หมายถึง   ความคิด  การปฏิบัติและการกระทำใหม่ ๆ  ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมที่มา: https://sites.google.com/site/ajthanadol/nwatkrrm/khwam-hmay-khxng-nwatkrrm 
         นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน  แปลว่า  ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา  ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ  การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่  เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  หรือก็คือ  การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น  โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง  (Changs)  ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส  ( Opportunity)  และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/492099

          นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

          สรุป นวัตกรรม หมายถึง การกระทำใหม่ๆ หรือการพัฒนาปรับปรุงหรือดัดแปลง  จากสิ่งใดๆ แล้วทำให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์

          ความแตกต่างระหว่างการทำงานแบบทีมและกลุ่ม (Teams vs Groups )

          การทำงานแบบกลุ่ม (Work group) คือ การรวมกลุ่มที่มีกิจกรรมร่วมเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน
และช่วยในการตัดสิ้นใจให้แก่สมาชิกในกลุ่มที่จะทำงานภายในขอบข่ายที่รับผิดชอบของ
แต่ละคนนั้น ในการทำงานของกลุ่มไม่จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงไม่มี
การเชื่อมโยงทรัพยากรและใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลในทางบวก
นั่นคือเราใส่การทำงานของแต่ละคนเข้าไปผลงานที่ออกรวมกันแล้วจะได้เท่ากับที่ใส่เข้าไปหรืออาจจะน้อยกว่าก็ได้


          "กลุ่ม" (Group) คือ การรวมตัวกันของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อใดที่มีการรวมตัวกัน กลุ่มย่อมเกิดขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่การรวมตัวกันเกิดจากความเหมือนกันในด้านต่างๆ เช่น ความสนใจ อุปนิสัย หรือด้วยเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการรวมตัวกัน อาจมีเป้าหมายเฉพาะหรือไม่มีก็ได้
          "ทีม" (Team) คือ การรวมตัวตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ผูกพันกัน มีจุดมุ่งหมาย เป้าหมายเดียวกันและต้องเป็นเป้าหมายที่เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ (ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ หากเป้าหมายนั้นไม่สร้างสรรค์ เช่น การรวมตัวของคนกลุ่มหนึ่งเพื่อก่ออาชญากรรม เราไม่ถือว่าเป็นทีม แต่เป็นกลุ่มคน นั่นเพราะแม้มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายเดียวกัน แต่เป็นเป้าหมายที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน วุ่นวายแก่สังคมส่วนใหญ่)ในฐานะที่ทำงานด้านการสร้างทีมงาน สิ่งที่ควรรู้เป็นอย่างแรกคือความแตกต่างของกลุ่มแบบต่างๆ 

          กลุ่ม (group) บุคคลสองคนหรือมากกว่าสองคนขึ้นไปที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและพึ่งพาอาศัยกันเข้ามาร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ ที่แต่ละบุคคลมีอยู่   
          ทีม (team) กลุ่มๆ หนึ่งที่สมาชิกใช้ทักษะต่างๆ ที่มีอยู่และทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่รับผิดชอบร่วมกัน
ที่มา: polsci.pn.psu.ac.th/active/fileat/ทำสร้างทีมงานเป็นทีม.ppt

          สรุป  ความแตกต่างระหว่างการทำงานแบบทีมและกลุ่ม คือ กลุ่มเกิดจาดการรวมตัวของบุคคลที่มีความเห็น หรือ ความชอบในสิ่งที่คล้ายๆ กันอาจจะมีเป้าหมายหรือไม่มีก็ได้  ทีมเกิดจากการรวมตัวของบึคคลที่มีเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายร่วมกัน และเป้าหมายนั้นๆ ต้องเกิดประโยชน์

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม